
หลักสูตรสามารถจำแนกได้เป็น
1. หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
หลักสูตรแบบรายวิชา(subject design) เป็นหลักสูตรที่เก่าแก่ และนิยมมากที่สุด จัดโครงสร้างหลักสูตรเป็นรายวิชา เช่น วิชาประวัติศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย เป็นต้น
หลักสูตรแบบสาขาวิชา (discipline design) การออกแบบหลักสูตรมีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรรายวิชา แต่จะแตกต่างกันที่หลักสูตรแบบสาขาวิชาจะมีจุดเน้นลุ่มลึกไปในศาสตร์ของแต่ละสาขา เช่น สาขาชีววิทยาจะเรียนเนื้อหาลุ่มลึกในศาสตร์ของชีววิทยา การเรียนการสอนจะมุ่งเน้นความคิดรวบยอด โครงสร้างเนื้อหา และกระบวนการในศาสตร์ของชีววิทยา
หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design) นักออกแบบหลักสูตรพยายามจะแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชา โดยนำวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน มาจัดเข้าไว้ในหมวดวิชาเดียวกัน เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม รวมอยู่ในหมวดสังคมศึกษา ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี รวมเป็นหมวดวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlation design) เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรหมวดวิชา โดยเน้นความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชา ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี และนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการเรียนเป็นรายวิชา ได้
หลักสูตรเน้นกระบวนการ (process design) เป็นหลักสูตรที่เน้นกระบวนการ หรือทักษะกระบวนการ นักออกแบบหลักสูตรมีความเชื่อว่า การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำกระบวนการนั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเขาได้ ตัวอย่างของหลักสูตร เช่น หลักสูตรการคิดของ เบเยอร์ (Beyer อ้างถึงใน Ornstein.1993 : 247) ได้แบ่งกลยุทธ์การคิดเป็น 3 วิธีคือ การคิดแก้ปัญหา(problem solving) การตัดสินใจ (decision making) และการสร้างแนวคิด(conceptualizing) หลักสูตรการคิด (thinking curriculum)